การวินิจฉัยวาล์วควบคุม(Control Valve)มีการใช้งานมามากกว่า 20 ปี เพื่อช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงและวิศวกรได้มีการวางแผนงานการซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือวินิจฉัยเครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1980 หลังจากนั้นก็ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งถ้าไล่ลำดับการพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยจะได้ว่า ยุคแรกในช่วงปี 1980 เป็นเครื่องมือวินิจฉัยแบบทำงานด้วยตนเอง( Stand-Alone Diagnostic), ยุคที่สองในช่วงปี 1990 คือช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาและใช้งานดิจิตอลโพสิชันเนอร์( Digital Positioner) เป็นครั้งแรก และยุคที่สามเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคที่ตัวควบคุมเป็นระบบอัจฉริยะ มีความฉลาดมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้ครบถ้วน ซึ่งถ้าเทียบยุคที่สามกับยุคอื่นๆ แล้วถือว่ามีความต่างกัน ในเรื่องของข้อมูลที่เก็บค่อนข้างมาก
เครื่องมือวินิจฉัยเครื่องแรกจะทำงานด้วยตนเอง โดยต้องเชื่อมต่อกับวาล์วแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อทำการเก็บข้อfirst generation diagnosticมูลจากตัววาล์ว ส่วนการทดสอบหรือการเก็บข้อมูลนั้นสามารถทำได้เฉพาะตอนกระบวนการออฟไลน์อยู่เท่านั้น นั่นหมายความว่าตัววาล์วควบคุม(Control Valve) ไม่สามารถทำการปฏิบัติงานได้ระหว่างการทดสอบหรือการเก็บข้อมูล และผู้ใช้งานจะไม่มีข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยในระหว่างที่วาล์วกำลังปฏิบัติงาน
ยุคต่อมา(ช่วงปี 1990) เป็นยุคของดิจิตอลโพสิชันเนอร์ (Digital Positioner) โดยในตัวโพสิชันเนอร์จะมีเซนเซอร์และตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ฝังไว้อยู่ที่ตัวโพสิชันเนอร์เลย โดยทำหน้าที่เก็บข้อมูลเหมือนกับเครื่องมือในยุคแรก แต่ต่างกันตรงที่ไม่จำเป็นต้องต่อแยกกัน และสามารถเก็บข้อมูลระหว่างที่วาล์วกำลังทำงานอยู่ได้
เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการตรวจดูหาแนวโน้มแล้ว ทำให้เราทำการคาดคะเนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ รวมถึงวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลแนวโน้มของวาล์วแล้ว ตัวอุปกรณ์ยังสามารถที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลและทำการเตือนระหว่างที่วาล์วควบคุม(Control Valve) กำลังปฏิบัติงานอยู่ และส่งคำเตือนเมื่อการทำงานของวาล์วมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาได้อีกด้วย โดยในยุคที่สองนี้เราสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์